ฉันจะซ่อมแล็ปท็อปที่เปิดใช้งานไม่ได้อย่างไร

จะทำเช่นไร เมื่อคุณกดปุ่มเปิดเครื่องที่แล็ปท็อปของคุณ... แล้วไม่มีอะไรเกิดขึ้น.

ปัญหาการเปิดแล็ปท็อปไม่ติดนั้นยังถือว่าเล็กน้อย หากเทียบกับปัญหาที่ชวนโมโหอันเนื่องมาจากความติดขัดและล่าช้าทางเทคโนโลยีทั้งหลาย อย่างไรก็ดี คุณไม่ควรจะต้องมาถอดใจเพียงแค่แล็ปท็อปต้องจากคุณไปก่อนเวลาที่ควรจะเป็น เราจะแสดงให้คุณดู ว่ายังมีแนวทางการประเมินดูว่ามีข้อผิดพลาดตรงไหน และจะแก้ไขมันยังไง

หากคุณเปิดแล็ปท็อปไม่ติด แสดงว่าอาจมีข้อผิดพลาดจากแหล่งจ่ายไฟ ฮาร์ดแวร์ทำงานล้มเหลว หรือจอภาพเสียก็ได้ [1] บ่อยครั้งคุณอาจแก้ปัญหาได้เอง เพียงแค่การสั่งซื้อชิ้นส่วนหรืออะไหล่มาใช้แทนของเก่า หรือปรับแต่งค่าแล็ปท็อปของคุณตามความเหมาะสม

แต่ถ้าแล็ปท็อปของคุณเก่าแล้ว และปัญหามาจากฮาร์ดแวร์ซึ่งมักจะต้องจ่ายแพงด้วย เมื่อเป็นเช่นนี้ การซื้อแล็ปท็อปใหม่จึงเป็นทางเลือกที่ดีที่สุด.

1. ตรวจสอบแหล่งจ่ายไฟและแบตเตอรี่

หากแล็ปท็อป HP ของคุณเปิดไม่ติดแม้จะเสียบปลั๊กอยู่ ให้ลองตรวจสอบแหล่งจ่ายไฟดู ซึ่งคุณอาจพบปัญหาบางอย่างที่เกี่ยวกับแหล่งจ่ายไฟก็ได้

อาทิเช่น ปัญหาที่เกิดขึ้นอาจฟังดูเรียบง่ายอย่างการใช้สายชาร์จผิด ซึ่งส่งผลให้เครื่องไม่ได้รับการจ่ายไฟ หรืออาจเป็นเพราะแหล่งจ่ายไฟเองที่ขัดข้อง [2]

  1. หากต้องการทดสอบว่าแหล่งจ่ายไฟเป็นต้นตอของปัญหาหรือไม่ ให้ถอด แบตเตอรี่แล็ปท็อปออก.
  2. จากนั้นเสียบแล็ปท็อปของคุณเข้ากับเต้าเสียบที่ใช้งานได้
  3. ขั้นแรก ให้ตรวจสอบว่าเต้าเสียบทำงานเป็นปกติ โดยลองทำการเสียบอุปกรณ์อื่นดู ซึ่งหากใช้งานได้ แสดงว่าปัญหาไม่ได้มาจากเต้าเสียบไฟ
  4. หากคุณเปิดแล็ปท็อปได้โดยไม่ต้องใส่แบตเตอรี่ แสดงว่าสาเหตุไม่ได้มาจากแหล่งจ่ายไฟ หากแต่เป็นแบตเตอรี่ที่มีปัญหา
  5. เมื่อเป็นเช่นนี้คุณจะต้องซื้อเครื่องใหม่ ทว่าคุณสามารถใช้เครื่องต่อไปโดยเสียบไฟไปก่อนได้
  6. การใช้แล็ปท็อปโดยไม่มีแบตเตอรี่นั้นไม่เป็นเรื่องเสียหายใด ๆ เลย เพียงแต่คุณต้องเสียบปลั๊กไฟทุกครั้งเมื่อต้องใช้งานก็เท่านั้น

แบตเตอรี่ CMOS

แบตเตอรี่ CMOSมีแนวทางอื่นที่เป็นไปได้อยู่ เช่นการเปลี่ยนแบตเตอรี่ CMOS ที่เก็บรักษาการตั้งค่า BIOS ไว้ในเมนบอร์ด [3] และมันยิ่งตอกย้ำความจริงเข้าไปอีก เมื่อคุณใช้แล็ปท็อปเก่าที่ดับบ่อยครั้ง หรือใช้งานโดยไม่ใส่แบตเตอรี่ตัวหลักไปด้วย การเปลี่ยนไปใช้แบตเตอรี่ CMOS ตัวใหม่นั้นถือว่าเป็นการตัดสินใจที่เป็นมิตรต่อกระเป๋าสตางค์อย่างยิ่ง

เคล็ดลับจากมืออาชีพ: ตรวจสอบให้แน่ใจว่าเสียบสายเคเบิลทุกสายอย่างถูกต้อง วิธีนี้อาจดูง่ายและชัดเจน แต่ปัญหาส่วนใหญ่ที่ทำให้แล็ปท็อปเปิดไม่ขึ้นมักมาจากแหล่งจ่ายไฟ การที่สายไฟหลวม หรือไม่ได้เสียบปลั๊กไว้หมายความว่าคอมพิวเตอร์ของคุณจะเปิดใช้งานไม่ได้เพราะไม่มีไฟฟ้านั่นเอง


2. วินิจฉัยปัญหาหน้าจอ

หากแหล่งจ่ายไฟของคุณยังปกติดี คุณก็ต้องหาทางแก้ปัญหาในส่วนอื่น

  1. ขั้นแรก ให้ถอดอุปกรณ์แสดงผลภายนอกที่ไม่จำเป็นทั้งหมดออก เช่น เครื่องโปรเจ็กเตอร์และจอภาพ เพื่อตรวจสอบให้แน่ใจว่าอุปกรณ์เหล่านี้ไม่ไปรบกวนการเปิดใช้งานของแล็ปท็อป
  2. หากปุ่ม เปิด/ปิด สว่างแล้วและคุณได้ยินเสียงพัดลมหรือมีเสียงอื่น ๆ แต่ภาพไม่ขึ้น ให้ลองปิดไฟเพื่อดูว่ามีภาพปรากฏจาง ๆ บนจอหรือไม่
  3. หากมีภาพปรากฏขึ้นแต่จางมาก แสดงว่าอินเวอร์เตอร์ของหน้าจอเสีย ซึ่งคุณจะต้องเปลี่ยนใหม่ [4]
  4. หรือเป็นไปได้ว่า ปุ่มปรับความสว่างของคุณอาจเสีย

หากแล็ปท็อปของคุณเริ่มทำงานแต่ไม่มีภาพปรากฏ แสดงว่าแผง LCD อาจเสีย เป็นไปไม่ได้เลยที่จะแก้ไขปัญหาหน้าจอเสีย ลองอ่านบทความต่อไปนี้เพื่อหาวิธีจัดการกับปัญหาดังกล่าวนี้ดู แต่ถ้าแล็ปท็อปของคุณเป็นรุ่นเก่าแล้ว การเปลี่ยนแล็ปท็อปใหม่จะถือว่าเป็นทางเลือกที่ดีกว่า


3. ถอดอุปกรณ์ทั้งหมดออกจากแล็ปท็อปของคุณ

หากคุณลืมการ์ดหน่วยความจำ ไดรฟ์ดีวีดี หรือ USB เอาไว้โดยไม่ปิดหรือถอดออก ซึ่งอาจนำไปสู่สาเหตุที่แล็ปท็อปของคุณเปิดไม่ติด

เครื่องอาจเกิดการ “ติดขัด” เพราะ BIOS อาจพยายามบูตจากอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลแบบถอดได้ ให้ถอดไดรฟ์ USB และอุปกรณ์อื่น ๆ ทุกตัวแล้วลองบูตเครื่องคอมพิวเตอร์ของคุณใหม่


4. ใช้ดิสก์กู้คืน

ดิสก์กู้คืนช่วยให้คุณบู๊ทคอมพิวเตอร์ได้ และยังช่วยแก้ไขปัญหาที่คุณอาจเผชิญขณะใช้งานระบบปฏิบัติการของ Windows ได้ด้วย[5] หากไวรัสเป็นตัวการหลักที่สร้างปัญหาให้กับคอมพิวเตอร์ ดิสก์กู้คืนจะทำการตรวจหามันโดยใช้เครื่องมือตรวจจับเพื่อกำจัดมัลแวร์ที่รุกรานเครื่องออกไป


5. บูตเครื่องในเซฟโหมด

หากแล็ปท็อป HP ของคุณเปิดไม่ติด คุณอาจต้องเปิดแล็ปท็อปของคุณในเซฟโหมด [6] เซฟโหมดจะช่วยให้คุณสามารถถอนการติดตั้งโปรแกรมหรือไดรฟ์เวอร์ใหม่ที่อาจส่งผลกระทบต่อแล็ปท็อปของคุณได้ นอกจากนี้ เซฟโหมดยังช่วยให้คุณสามารถสร้างบัญชีผู้ใช้ใหม่ได้หากบัญชีเดิมของคุณอยู่ในภาวะวิบัติ


6. ตรวจสอบฮาร์ดแวร์

6. ตรวจสอบฮาร์ดแวร์ขั้นตอนสุดท้ายในการวินิจฉัยปัญหาด้านพลังงาน คือการตรวจสอบฮาร์ดแวร์ของคุณ หากคุณเพิ่งติดตั้งฮาร์ดแวร์ เช่น ชุด RAM ใหม่ ซึ่งอาจเป็นสาเหตุที่ทำให้การบู๊ทเครื่องมีปัญหา ลองถอดและติดตั้งฮาร์ดแวร์ใหม่ แล้วลองบู๊ทดูอีกครั้ง

แย่หน่อย ที่บางครั้งฮาร์ดแวร์ในแล็ปท็อปของคุณ เช่นฮาร์ดไดรฟ์นั้นเกิดเสียหายขึ้น และการซ่อมแซมก็ไม่ใช่เรื่องง่าย คุณอาจพบว่าฮาร์ดไดรฟ์เสีย หากคุณได้ยินเสียงแก๊ก ๆ หรือพบว่าจานหมุนของไดรฟ์ยังหมุนแต่เครื่องปิดตัวลง [7] จากกรณีที่พบส่วนใหญ่ อาจหมายความว่าคุณจะต้องเปลี่ยนฮาร์ดไดรฟ์ของคุณใหม่

ในกรณีเช่นนี้ คุณควรมี ฮาร์ดไดรฟ์ภายนอก เพื่อให้คุณสำรองไฟล์ที่คุณต้องการไว้ก่อนได้


วินิจฉัย ซ่อมแซม หรือเปลี่ยนใหม่

คำถามที่ว่า “ทำไมฉันเปิดแล็ปท็อปไม่ติด” ในตอนแรกนั้นอาจฟังดูน่ากลัว แล็ปท็อปทำให้ชีวิตของเราสะดวกสบายยิ่งขึ้น โดยการมอบอิสระการใช้งานในรูปแบบการพกพา ที่เหมาะสมกับทุก ๆ ไลฟ์สไตล์

แต่ถ้าคุณต้องอาศัยแล็ปท็อปในการทำงาน ใช้งานในโรงเรียน หรือต้องทำงานประจำวันหลาย ๆ อย่างแล้ว ผลิตภาพการทำงานของคุณอาจแย่ลงได้หากต้องพบกับปัญหาใหญ่ขึ้นมา

อย่าตกใจไป หากคุณพบว่าเปิดแล็ปท็อปไม่ติด ปัญหาอาจมาจากแหล่งจ่ายไฟ ที่คุณตรวจสอบและแก้ไขได้ไม่ยาก แม้ว่าจะเป็นปัญหาที่ดูซับซ้อน แต่ก็ยังพอมีวิธีทดสอบและประเมินปัญหาที่เป็นมิตรกับกระเป๋าสตางค์ของคุณอยู่

และถ้าหากยังแก้ไม่ตก การซื้อ คอมพิวเตอร์เดสก์ท็อปเครื่องใหม่ ก็อาจตอบโจทย์การแก้ปัญหาทางเทคโนโลยีของคุณได้



[1] Tech Advisor; How to Fix a Computer that Won’t Boot

[2] LifeWire; How to Fix a Computer that Shows No Sign of Power

[3] DeskDecode; CMOS Battery

[4] TechWalla; I Dropped My Laptop and Now my Screen Doesn't Work

[5] Lifehacker, Five Best System Rescue Disks

[6] Windows Central; How to Fix Blackscreen Problems on Windows 10

[7] Make Use Of; 5 Signs Your Hard Drive Lifetime is Ending