การสู่การตั้งค่า BIOS บนพีซีที่ใช้ระบบปฏิบัติการ Windows

ในยุคที่เทคโนโลยีมีความก้าวหน้าขึ้นแบบเดือนต่อเดือน เรามักจะมองข้ามกลไกสำคัญที่ทำให้คอมพิวเตอร์ของเราใช้งานได้ง่ายขนาดนี้

ทุกครั้งที่เรากดปุ่มเปิด/ปิดพีซี BIOS คือสิ่งแรกที่โหลดระบบปฏิบัติการของคุณขึ้นมา ซึ่งรวมถึงข้อมูลการตั้งค่าส่วนบุคคลที่ถูกปรับแต่งให้เป็นไปตามความต้องการของคุณเอง

ผู้ใช้พีซีจำเป็นต้องทราบว่าจะเข้า BIOS อย่างไร ไม่ว่าจะต้องการ อัปเดต BIOS หรือกำจัดข้อบกพร่องในระบบให้หมดไป เพื่อการเข้าถึง BIOS บนพีซีระบบ Windows คุณต้องกดปุ่ม BIOS ตามที่ตั้งค่ามาโดยผู้ผลิต ซึ่งอาจเป็นปุ่ม F10, F2, F12, F1 หรือ DEL ก็ได้

หากพีซีของคุณดำเนินการทดสอบความพร้อมของตัวพีซีเองก่อนเริ่มทำงาน (power on self-test) เร็วเกินไป คุณยังคงสามารถเข้า BIOS ผ่านการตั้งค่าการกู้คืนในเมนูเริ่มต้นขั้นสูงของ Windows 10 ได้

สิ่งหนึ่งที่ผู้ใช้พีซีชื่นชอบที่สุดเกี่ยวกับ Windows คือการมีตัวเลือกในหารกำหนดค่าในระบบโดยตรงที่หลากหลาย

แม้ก่อนที่คอมพิวเตอร์ของคุณจะดำเนินการเริ่มต้นระบบจนเสร็จสิ้น คุณยังคงสามารถเข้า ซอฟต์แวร์ BIOS เพื่อปรับเปลี่ยนลำดับการบู๊ท เปิดการทำงานองค์ประกอบฮาร์ดแวร์ส่วนต่าง ๆ หรือเปลี่ยนวันและเวลาในระบบ

การเข้าสู่ BIOS สำหรับพีซีเก่าอาจต้องอาศัยการเคาะคีย์บอร์ดมากกว่าในพีซีใหม่เล็กน้อย ขึ้นอยู่กับอายุการใช้งานของคอมพิวเตอร์ของคุณ

ก่อนจะกดปุ่มหรือปรับแต่งการตั้งค่าใด ๆ เราจะแนะนำทุกสิ่งที่คุณควรทราบเกี่ยวกับ BIOS บนพีซีของคุณ และการเข้า BIOS บนแล็ปท็อปหรือเดสก์ท็อปพีซี

BIOS คืออะไร

BIOS หรือ Basic Input/Output System (ระบบรับ/ป้อนคำสั่งพื้นฐาน) เป็นโปรแกรมเริ่มต้นที่สำคัญที่สุดของพีซี และเป็นซอฟต์แวร์คอร์ประมวลผลแบบออนบอร์ด ซึ่งทำหน้าที่บูตระบบ

BIOS มักจะถูกฝังมาในคอมพิวเตอร์ในรูปแบบของชิปบนเมนบอร์ด และทำหน้าที่เป็นตัวเร่งการดำเนินงานตามฟังก์ชั่นต่าง ๆ ของพีซี

BIOS ถูกตั้งโปรแกรมมาบนชิปหน่วยความจำที่ลบ ตั้งค่าโปรแกรมได้ และสามารถอ่านได้อย่างเดียว (EPROM) โดย BIOS ถูกจัดเก็บลงบนชิปหน่วยความจำนี้ ซึ่งข้อมูลต่าง ๆ จะถูกเก็บรักษาไว้เมื่อปิดเครื่อง เมื่อเปิดพีซีอีกครั้ง BIOS จะเรียกชุดข้อมูลที่บันทึกไว้กลับมา

และระบบ BIOS ยังทำหน้าที่จัดการการถ่ายเทข้อมูลระหว่างระบบปฏิบัติการของคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ที่ติดตั้งไว้ ซึ่งได้แก่ ฮาร์ดไดรฟ์ คีย์บอร์ด อะแดปเตอร์วิดีโอ เครื่องพิมพ์ หรือเมาส์

ทุกครั้งที่คุณเปิดพีซี BIOS จะดำเนินขั้นตอนที่เรียกว่า Power-On Self Test (ทดสอบความพร้อมของตัวพีซีเอง) หรือ POST ซึ่งจะทำให้ทราบว่าอุปกรณ์ที่ติดตั้งไว้นั้นทำงานได้อย่างถูกต้องและอยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสมหรือไม่

เมื่ออุปกรณ์ที่ติดตั้งไว้ทั้งหมดได้รับการจัดสรรและตรวจสอบแล้วว่าใช้งานได้เป็นปกติ คอมพิวเตอร์จะเริ่มต้นทำงานไปตามปกติ และนำคุณไปสู่หน้าจอโหลดภายในไม่กี่วินาที

หาก BIOS ตรวจพบปัญหาใด ๆ หน้าจอแสดงข้อผิดพลาดจะปรากฎขึ้น หรือไม่ก็มีรหัสบี๊บดังขึ้น ซึ่งเป็นการแจ้งให้ทราบว่ามีข้อผิดพลาดเกิดขึ้น


พัฒนาการใหม่ ๆ ในเทคโนโลยี BIOS

ซอฟต์แวร์ BIOS มีใช้ในคอมพิวเตอร์มาตั้งแต่ช่วงทศวรรษปี 1980 และมีการปรับปรุงพัฒนาประสิทธิภาพมาอย่างก้าวไกลและต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม BIOS ได้กลายเป็นสิ่งล้าสมัยและเป็นอุปสรรคต่อการดำเนินการทางเทคนิคต่าง ๆ ในปัจจุบัน ซึ่งสาเหตุก็มาจากการวิวัฒนาการทางเทคโนโลยีที่เป็นไปอย่างรวดเร็ว

พีซีใหม่ ๆ ที่สามารถเก็บข้อมูลได้หลายเทราไบต์นั้นเริ่มซับซ้อนเกินกว่าที่ BIOS รุ่นเก่า ๆ จะรับมือไหวแล้ว โดยระบบจะถูกจำกัดอยู่ที่โหมดโปรเซสเซอร์ 16 บิต และไดรฟ์สำหรับบูตเครื่องขนาดไม่เกิน 2.1TB ขณะที่คอมพิวเตอร์รุ่นใหม่ ๆ มักจะมาพร้อมไดรฟ์ขนาด 3TB หรือมากกว่านั้น

ดังนั้น UEFI จึงถูกสร้างขึ้น เนื่องจากความจำเป็นสำหรับการบูตที่ต้องใช้กำลังสูงขึ้น มาตรฐานใหม่ของ BIOS ดูแลขีดจำกัดที่ระบบ BIOS แบบเก่าไม่สามารถก้าวข้ามได้ UEFI หรือ Unified Extended Firmware Interface Forum ทำงานได้ทั้งในโหมด 32 และ 64 บิต โดยทางทฤษฎีแล้วสามารถจัดการไดรฟ์ที่มีความจุสูงสุดถึง 9.4 เซตตะไบต์ได้

UEFI ไม่เพียงมาแทนที่ BIOS แต่ยังทำหน้าที่เป็นระบบปฏิบัติการขนาดเล็กที่จะทำงานควบคู่ไปกับเฟิร์มแวร์ที่ติดมากับพีซีของคุณ

หลัก ๆ ก็คือ ไม่ว่าคอมพิวเตอร์ของคุณจะขับเคลื่อนด้วย BIOS หรือ UEFI ก็ตาม มันก็คือซอฟต์แวร์ที่คุณต้องใช้เพื่อให้การบูตเร็วขึ้นและให้ฟังก์ชันการประมวลผลทำงานได้อย่างเหมาะสม การที่คุณสามารถเข้าถึง BIOS ของพีซีได้ช่วยให้คุณทำการบำรุงรักษาระบบเป็นประจำได้ เพื่อให้คอมพิวเตอร์อยู่ในสภาพดีเสมอ


ฟังก์ชันพื้นฐานของ BIOS มีอะไรบ้าง

ตอนนี้คุณควรเข้าใจแล้วว่า BIOS คืออะไร คราวนี้มาดูกันต่อว่ามันช่วยอะไรเดสก์ท็อป แล็ปท็อป และแท็บเล็ตของคุณได้บ้าง ฟังก์ชันของ BIOS แบ่งออกเป็นหน้าที่หลักได้สี่ข้อ


1. POST

ดังที่ได้กล่าวไปแล้วข้างต้น POST ย่อมาจาก Power-On Self Test ซึ่งพีซีของคุณดำเนินการไปตั้งแต่ตอนที่คุณเปิดเครื่อง POST จะทดสอบฮาร์ดแวร์ของพีซี และทำให้มั่นใจว่าไม่มีข้อขัดข้องและข้อผิดพลาดใด ๆ ในระบบปฏิบัติการ

POST จะตรวจสอบทุกอย่าง ตั้งแต่คีย์บอร์ดและดิสก์ไดรฟ์ ไปจนถึง ความเร็วของ RAM ในคอมพิวเตอร์ และพอร์ตออนบอร์ด เมื่อทุกอย่างเรียบร้อยแล้ว POST จะทำงานต่อไปตามปกติ และให้พีซีของคุณบูตเครื่องตามปกติ

หากตรวจพบข้อผิดพลาด BIOS จะส่งข้อความแจ้งข้อผิดพลาด ซึ่งอาจอยู่ในรูปของข้อความเตือนบนหน้าจอ หรือเป็นชุดเสียงสัญญาณแจ้งข้อผิดพลาดก็ได้

สัญญาณเหล่านี้คือการส่งข้อความบางอย่าง ที่คุณต้องตรวจสอบดูว่าคอมพิวเตอร์ประสบปัญหาด้านฮาร์ดแวร์อะไรหรือไม่ [1]


2. การติดตั้ง CMOS

พีซีของคุณเก็บข้อมูลการตั้งค่าระดับต่ำเอาไว้ เช่น เวลาในระบบ และการกำหนดค่าฮาร์ดแวร์ไว้ใน CMOS

หมายความว่า การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของ BIOS ทุกครั้งจะถูกบันทึกไว้ในชิปหน่วยความจำพิเศษที่เรียกว่า Complementary Metal-Oxide Semiconductor หรือ CMOS การติดตั้ง CMOS จะนำไปใช้กับการตั้งค่ารหัสผ่าน เวลา และวันที่


3. Bootstrap loader (ตัวปลุกเครื่อง)

Bootstrap loader คือโปรแกรมที่ทำงานอยู่บน EPROM หรือ ROM ในคอมพิวเตอร์ ซึ่งมีหน้าที่อ่านบู๊ทเซ็กเตอร์ในฮาร์ดไดรฟ์ของพีซีเพื่อให้ทำงานไปพร้อม ๆ กับการโหลดระบบปฏืบัติการให้เสร็จสมบูรณ์

เมื่อคุณเปิดเครื่องใหม่ Bootstrap loader จะเปิดการทำงานของ POST จากนั้นจึงโหลด Windows 10 เข้าไปยังหน่วยความจำ พีซีรุ่นใหม่ ๆ ได้นำ EFI หรือ Extensible Firmware Interface มาแทนที่ Bootstrap loader ไปแล้ว


4. ไดรฟ์เวอร์ BIOS

ไดรฟ์เวอร์ BIOS คือโปรแกรมทั้งหลายที่เก็บไว้ในชิพความจำที่มีมากมายพอกันในคอมพิวเตอร์ของคุณ ไดรฟ์เวอร์ระดับต่ำเหล่านี้มีไว้เพื่อบู๊ทระบบและเตรียมการควบคุมการทำงานขั้นพื้นฐานบนพีซีของคุณ


การเข้า BIOS ใน Windows 10

เมื่อคุณพบกับบั๊คที่น่ารำคาญหรือต้องปรับแต่งฮาร์ดแวร์ CPU สำหรับโปรเซสเซอร์ที่เพิ่งอัปเกรดมา คุณต้องเข้า BIOS ก่อน

แล็ปท็อปที่ใช้ Windows 10 และพีซีนั้นช่วยให้การเข้าถึง, ตรวจสอบ และอัปเดต BIOS เป็นไปอย่างสะดวกสบายด้วยวิธีการ 2 วิธีต่อไปนี้ ที่ช่วยให้คุณหาผลลัพธ์ที่คุณต้องการได้ มาดูรายละเอียดของทั้งสองวิธีกัน


วิธีที่ 1: การใช้คีย์ลัดระหว่างการบู๊ท

อาจเร็วไปที่คุณจะสังเกตเห็น แต่พีซีของคุณนั้นดำเนินการขั้นตอน POST อย่างรวดเร็วเพื่อโหลดหน้าจอเริ่มต้นให้เร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ และในช่วงเวลาสั้น ๆ นี้เองที่คุณจะสามารถเข้า BIOS ได้โดยการกดคีย์ลัดตามที่กำหนดไว้ในพีซี

โชคไม่ดีเท่าไรนัก ที่พีซีจากแบรนด์ต่าง ๆ ไม่ได้ตั้งค่าปุ่มเข้าสู่ BIOS ไว้ให้เหมือนกันเลย แล็ปท็อปของ HP มักจะใช้ปุ่ม F10 หรือ Escape (Esc)

DEL และ F2 มักจะเป็นคีย์ลัดที่นิยมใช้กันมากที่สุดในหมู่พีซี แต่หากคุณไม่แน่ใจว่าคีย์ลัดที่พีซีแบรนด์ของคุณใช้คืออะไร รายการคีย์ BIOS ที่ใช้บ่อยตามแต่ละแบรนด์ต่อไปนี้อาจช่วยได้

  • Acer: F2 หรือ DEL
  • ASUS: F2 สำหรับพีซีทุกรุ่น และ F2 หรือ DEL สำหรับเมนบอร์ด
  • Dell: F2 หรือ F12
  • HP: ESC หรือ F10
  • Lenovo: F2 หรือ Fn + F2
  • Lenovo (Desktops): F1
  • Lenovo (ThinkPads): Enter + F1.
  • MSI: DEL สำหรับเมนบอร์ดและพีซี
  • Microsoft Surface Tablets: กดปุ่มเพิ่มระดับเสียงค้างไว้
  • Origin PC: F2
  • Samsung: F2
  • Sony: F1, F2, หรือ F3
  • Toshiba: F2

การกดคีย์ลัดที่ตั้งค่าไว้สำหรับ BIOS ระหว่างที่คอมพิวเตอร์กำลังบูตจะเป็นการเรียกหน้าจอตั้งค่า BIOS ที่คุณมองหาอยู่ขึ้นมา

เช่น การกด F10 เมื่อหน้าจอแสดงสถานะของพีซีปรากฎขึ้นนั้นจะพาคุณเข้าสู่หน้าจอติดตั้ง BIOS สำหรับเครื่อง HP Pavilion, HP EliteBook, HP Stream, HP OMEN, HP ENVY และอีกหลายรุ่น

ผู้ผลิตบางรายกำหนดให้กดคีย์ลัดซ้ำ ๆ กัน และบางรายก็กำหนดให้กดปุ่มอื่นคู่กับคีย์ลัดด้วย ควรตรวจสอบคู่มือการใช้งานพีซีหรือ หน้าสนับสนุนของผู้ผลิตเพื่อให้ได้ข้อมูลที่ถูกต้องที่สุด.


วิธีที่ 2: ใช้เมนูเริ่มต้นของ Windows 10

เมื่อเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ก้าวหน้ายิ่งกว่าที่เคยเป็น การบู๊ทเครื่องก็จะใช้เวลาเพียงไม่กี่วินาทีเท่านั้น ทำให้มีช่วงให้กดคีย์ลัดเพียงสั้น ๆ และอาจสร้างความสับสนต่อผู้ที่ต้องการเข้าไปในยังหน้าการตั้งค่าของ BIOS ได้

สำหรับผู้ใช้พีซีที่ไม่สามารถกดคีย์ลัดภายในช่วงเวลาสั้น ๆ นั้นได้ ให้ลองปฏิบัติตามวิธีการต่อไปนี้เพื่อเข้าถึง BIOS ซึ่งอาศัยการตั้งค่าคอมพิวเตอร์ด้วย

ขั้นตอนที่ 1. เข้าไปที่การตั้งค่า Windows

เข้าไปที่เมนูเริ่มต้นของ Windows และเลือก “การตั้งค่า” บนแผงด้านซ้าย นอกจากนี้คุณยังสามารถเข้าไปที่การตั้งค่า Windows ได้โดยใช้ปุ่มลัดของ Windows คือ Windows + I

ขั้นตอนที่ 2. เลือก “อัปเดตและระบบความปลอดภัย”

ในหน้าจอนี้ คุณอาจต้องเลื่อนลงเพื่อให้เห็นปุ่ม “อัปเดตและระบบความปลอดภัย”

ขั้นตอนที่ 3. เลือก “การกู้คืน"

ขั้นตอนที่ 4. คลิกที่ “เริ่มระบบใหม่เดี๋ยวนี้”

ใต้หัวข้อ “การเริ่มต้นขั้นสูง” คุณจะเห็นปุ่ม “เริ่มระบบใหม่เดี๋ยวนี้” ซึ่งจะให้คุณรีบู๊ทพีซีเพื่อการกำหนดค่าหรือการกู้คืน

หลังจากบู๊ทพีซีกลับมาเหมือนเดิม คุณจะเห็นเมนูพิเศษที่จะมีตัวเลือก “ใช้อุปกรณ์”, “ดำเนินการต่อ”, “ปิดเครื่องพีซีของคุณ” หรือ “แก้ไขปัญหา”

ขั้นตอนที่ 5. เลือก “แก้ไขปัญหา”

ในหน้าจอนี้ ให้เลือก “ตัวเลือกขั้นสูง” จากนั้นเลือก “การตั้งค่าเฟิร์มแวร์ UEFI” ขั้นตอนนี้จะช่วยให้คุณสามารถเข้า BIOS บนพีซีที่ใช้ Windows 10 ได้

ขั้นตอนที่ 6. ยืนยันการเริ่มการทำงานใหม่

หากพีซีของคุณใช้ Windows 8.1 หรือ Windows 8 วิธีนี้ก็สามารถใช้กับระบบปฏิบัติการรุ่นเก่าได้เช่นกัน


การเข้า BIOS ใน Windows 7, Vista และ XP

วิธีดั้งเดิมคือการกดปุ่มลัดที่ตั้งค่าเอาไว้แล้วในระหว่างช่วงบู๊ทเครื่อง ซึ่งควรจะพาคุณเข้าสู่ BIOS ได้ อย่าลืมกดปุ่มทันทีที่เห็นโลโก้ยี่ห้อของผู้ผลิต

ระบบปฏิบัติการเก่า ๆ มักจะโหลดช้ากว่า ดังนั้น ช่วงเวลาการกดคีย์ลัดควรจะมากพอให้เข้า BIOS ได้ทันที ปฏิบัติตามวิธีการสามขั้นตอนนี้ เพื่อเข้าสู่ BIOS บน Windows 7 หรือรุ่นที่ใหม่กว่านั้น

ขั้นตอนที่ 1. ปิดเครื่องคอมพิวเตอร์

ในระบบปฏิบัติการเก่า ๆ คุณสามารถเข้า BIOS ในช่วงก่อนที่โลโก้ของ Microsoft Windows จะปรากฎบนหน้าจอคอมพิวเตอร์เท่านั้น

ขั้นตอนที่ 2. เปิดพีซีของคุณ

ขั้นตอนที่ 3. กดคีย์ลัดของ BIOS

การกดคีย์บอร์ดเพียงครั้งเดียวหรือการกดหลายปุ่มพร้อมกันจะเป็นการเปิด BIOS บนพีซีของคุณ คอมพิวเตอร์ของคุณมักจะระบุไว้บนหน้าจอเริ่มต้นว่าต้องกดปุ่มใดบ้างเพื่อเข้า BIOS


ฉันเข้า BIOS ไม่ได้ ต้องทำอย่างไร

หากคุณยังพบอุปสรรคในการหาวิธีเข้า BIOS บน คอมพิวเตอร์เดสก์ท็อปที่ใช้ Windows 10, อีก เป็นไปได้ว่าคุณกำลังเผชิญกับเรื่องยุ่งยากเข้าแล้ว

ไม่ว่าการเริ่มการทำงานจะเร็วเกินไป หรือคุณสงสัยว่าไวรัสเข้าเล่นงานฮาร์ดแวร์ของคุณ คุณก็ต้องเข้าหน้า BIOS ให้ได้โดยด่วนที่สุดก่อน โชคยังดี ที่เรามีสิ่งที่คุณต้องการ ลองปฏิบัติตามวิธีแก้ปัญหาทั้งสองวิธีนี้ เพื่อให้สามารถเข้า BIOS ได้


แนวทางแก้ปัญหาที่ 1: ปิดระบบเริ่มต้นทำงานแบบรวดเร็ว

หากพีซีของคุณเปิดการทำงานเร็วเกินกว่าที่คุณจะกดปุ่มเพื่อเข้าสู่ BIOS ได้ แสดงว่าคุณประเมินเวลาการกดปุ่มเข้าสู่ BIOS บนพีซีของคุณช้าเกินไป

การปิดระบบเริ่มต้นทำงานแบบรวดเร็ว จะทำให้เวลาในการบู๊ทเครื่องช้าลง ทำให้คุณมีเวลามากพอที่จะกดคีย์ลัดเพื่อเข้าสู่หน้า BIOS ได้ โ ดยทำได้ดังนี้:

1. หา “ตัวเลือกการใช้พลังงาน" ในหน้าแผงควบคุม

2. กดปุ่ม "เลือกการทำงานของปุ่มเปิด/ปิดเครื่อง" บนแผงด้านซ้าย (คุณจะสังเกตว่าการตั้งค่าเกี่ยวกับการปิดเครื่องนั้นเป็นสีเทาทั้งหมดและไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้)

3. กดปุ่ม “เปลี่ยนแปลงการตั้งค่าที่พร้อมใช้งานในขณะนี้” ซึ่งอยู่ด้านบนปุ่มเปิด/ปิดเครื่องและการตั้งค่าฝาปิด (ซึ่งจะทำให้คุณสามารถเลือกหรือยกเลิกการเลือกข้อต่าง ๆ เพื่อปรับเปลี่ยนค่าเกี่ยวกับการปิดเครื่องได้)

4. ยกเลิกการเลือก “เปิดใช้การเริ่มต้นระบบแบบรวดเร็ว”

5. ลองเริ่มการทำงานใหม่และเข้า BIOS ด้วยคีย์ลัดอีกครั้ง


แนวทางแก้ปัญหาที่ 2: ใช้แผ่นบูตฉุกเฉิน

ในกรณีที่พีซีไม่ยอมเข้า BIOS หรือแสดงหน้าจอสีน้ำเงิน แสดงว่าคุณกำลังเผชิญกับปัญหาการบู๊ทล้มเหลว ในการเข้าสู่ BIOS คุณอาจลองใช้แผ่นบูตฉุกเฉินเพื่อให้พีซีกลับมาทำงานอีกครั้ง ผ่านทางไดรฟ์ USB

เมื่อบู๊ทไดรฟ์ USB ได้แล้ว คุณจะสามารถเลือกอุปกรณ์บู๊ทได้ตั้งแต่เริ่มต้นใช้งาน

1. คลิก “ซ่อมแซมคอมพิวเตอร์ของคุณ” แทนที่จะเป็นปุ่ม “ติดตั้งเดี๋ยวนี้” ที่อยู่ตรงกลาง

2. คลิก “แก้ไขปัญหา”

3. คลิก “การตั้งค่าเฟิร์มแวร์ UEFI”

4. คลิก “เริ่มระบบใหม่”

หากไม่ได้ผล คุณอาจต้องขอความช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญด้านการซ่อมคอมพิวเตอร์ใกล้บ้านคุณมาช่วยแก้ไขปัญหา

[1] ข้อมูลจากมหาวิทยาลัยอินเดียน่า (Indiana University) เรื่อง; If your computer beeps and fails to boot

Laptops

Laptops

From: ฿13,990.00

Desktops

Desktops

From: ฿14,990.00

Monitors

Monitors

From: ฿3,790.00

Printers

Printers

From: ฿3,890.00

Ink, Toner & Paper

INK, Toner and Paper