เดสก์ท็อปพีซี Omen ให้ประสบการณ์ภาพที่ยอดเยี่ยมด้วย AMD FreeSync

จอภาพที่ใช้ AMD FreeSync จะซิงโครไนซ์อัตราการรีเฟรชให้เท่ากับอัตราเฟรมของ GPU ของผู้ใช้ เพื่อลดเวลาแฝงอินพุต และกำจัดปัญหาภาพฉีกในระหว่างเล่นเกมและสตรีมวิดีโอ อธิบายแบบเข้าใจง่ายก็คือ จอภาพจะรีเฟรชแบบไดนามิก โดยขึ้นอยู่กับประสิทธิภาพการทำงานของการ์ดจอของคุณ

สำหรับเหล่าเกมเมอร์ ประสบการณ์รับชมภาพที่ยอดเยี่ยมเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากจะทำให้คุณสามารถเล่นเกมได้อย่างดื่มด่ำสมจริงที่สุด โดยเฉพาะอย่างยิ่งขณะเล่นเกมคุณภาพระดับสาม A (AAA) ยุคใหม่ล่าสุด ความผิดปกติใดๆ ที่เกิดขึ้นกับการแสดงผล อาจส่งผลให้คุณหลุดออกจากโลกแห่งเกม หรือต้องเสียสมาธิในระหว่างช่วงเวลาที่สำคัญ

จอแสดงผลนั้นมีความสำคัญยิ่งกว่าเมาส์ แป้นพิมพ์ หรือระบบเสียง เนื่องจากเป็นหัวใจสำคัญของมุมมองที่สวยงามหรืออัตราเฟรมที่ลื่นไหล แม้ว่าคุณจะมี จอภาพเกมมิ่ง, ชั้นเยี่ยม แต่คุณก็อาจจะยังไม่สามารถใช้ประโยชน์ได้อย่างเต็มที่ หากคุณยังคงประสบปัญหาด้านประสิทธิภาพการแสดงภาพที่ด้อยกว่า

ต่อไปนี้คือปัญหาการแสดงภาพที่เหล่าเกมเมอร์มักพบเจอ


1. ภาพฉีก

หน้าจอฉีกขาดระหว่างการเล่นเกม

อาการจำลองภาพที่เกิดขึ้นเมื่อเฟรมที่ปรากฏในระหว่างการเล่นเกมถูกลดลงครึ่งหนึ่ง และไม่สามารถตามการเปลี่ยนแปลงได้ทัน ในบางกรณีที่ภาพฉีกอย่างรุนแรง เฟรมอาจถูกแบ่งมากยิ่งกว่านั้น


คุณย่อมไม่สามารถใช้สมาธิไปกับภารกิจถัดไปได้หากไม่สามารถมองภาพได้อย่างชัดเจน นี่จึงเป็นปัญหาที่ร้ายแรงสำหรับเหล่าเกมเมอร์ ตั้งแต่มือสมัครเล่นไปจนถึงมืออาชีพ


2. ภาพหน่วง


จอภาพมาตรฐานจะมีอัตราการรีเฟรชทั่วไปอยู่ที่ 60 Hz ซึ่งหมายความว่ามีการแสดงผล 60 เฟรมต่อวินาที1 แต่เกมมิ่งพีซีที่ทำงานด้วยความเร็วสูง อาจมีอัตราการรีเฟรชที่สูงกว่านั้น


หากเฟรมปรากฏขึ้นในอัตราที่รวดเร็วกว่าที่จอภาพจะสามารถรีเฟรชได้ จอแสดงผลของคุณก็อาจจะแสดงภาพที่มีมากกว่าหนึ่งเฟรมพร้อมกัน


3. หน้าจอสั่น

ความแตกต่างของอัตราการรีเฟรช 240Hz และ 144Hz

อีกหนึ่งปัญหาที่พบบ่อยคือมีการแสดงภาพซ้ำ เนื่องจากการตั้งค่าของมัลติ GPU ส่งผลให้การส่งเฟรมเกิดขึ้นในช่วงเวลาที่ไม่เท่ากัน แล้วคุณจะแก้ไขปัญหาเหล่านี้ได้อย่างไร


วิธีหนึ่งได้แก่การใช้ AMD FreeSync ซึ่งจะช่วยแก้ไขปัญหาประสบการณ์การแสดงภาพที่ไม่สม่ำเสมอได้่


AMD FreeSync คืออะไร

จอภาพที่มี AMD FreeSync ให้การเล่นเกมที่ราบรื่นสุดๆ

เทคโนโลยี AMD FreeSync จะช่วยให้เกมเมอร์มีอัตราการรีเฟรชแบบไดนามิกและปรับเปลี่ยนได้2

เมื่อใช้ FreeSync จอภาพจะรีเฟรชตัวเองในลักษณะที่สอดคล้องกับเกมที่กำลังเล่น สูงสุดถึงอัตราการเฟรชสูงสุดที่เป็นไปได้ (75 Hz)


ตัวอย่างเช่น

-หาก GPU ทำงานที่ 50 FPS เทคโนโลยี AMD FreeSync ก็จะปรับการทำงานให้เท่ากันที่ 50 Hz

-หาก GPU ทำงานที่ 60 FPS เทคโนโลยี AMD FreeSync ก็จะปรับการทำงานให้เท่ากันที่ 60 Hz


โดยทั่วไป AMD FreeSync จะทำงานภายในกรอบระหว่าง 48 ถึง 75 Hz3 ดังนั้นหากคุณเล่นเกมอยู่ระหว่าง 100 ถึง 200 fps คุณก็อาจจะไม่ทราบถึงข้อดีของ AMD FreeSync เนื่องจากคุณไม่ได้อยู่ในจุดที่ลงตัวหรือกรอบของการเล่นเกมที่ลื่นไหล


FreeSync เทียบกับ G-Sync

ความแตกต่างของเทคโนโลยี FreeSync และ GSync

หากคุณกำลังศึกษาข้อมูลเทคโนโลยีอะแดปทีฟซิงค์ ผู้ให้บริการรายใหญ่อีกรายหนึ่งในวงการเกมที่ไม่ควรมองข้ามได้แก่ NVIDIA G-Sync NVIDIA คือผู้ให้บริการรายแรกในตลาด ที่มีเทคโนโลยีอัตราการรีเฟรชแบบไดนามิกเป็นของตัวเอง

จอภาพที่จะสามารถใช้งานร่วมกับ G-Sync ได้ จะต้องมีฮาร์ดแวร์เฉพาะสำหรับ G-Sync ซึ่งมักมีราคาแพง และส่งผลให้ต้นทุนโดยรวมของระบบมีราคาสูงขึ้น จอแสดงผล G-Sync จะต้องใช้โมดูลการปรับสเกล NVIDIA G-Sync จึงจะสามารถทำงานได้


คุณลักษณะของ AMD FreeSync

-ใช้โอเพนสแตนดาร์ดที่เรียกว่าอะแดปทีฟซิงค์ (DisplayPort 1.2a) ผู้ผลิตทุกรายจึงสามารถใช้งานได้

-โครงสร้างแบบโอเพนสแตนดาร์ดช่วยให้ต้นทุนของจอภาพไม่สูง

-ไม่ต้นทุนในการออกใบอนุญาต


คุณลักษณะของ NVIDIA G-Sync

-ต้องการโมดูล G-Sync

-ดีไซน์แบบปิด

-โมดูลส่งผลให้ต้นทุนสูงขึ้น

-จอภาพจะมีราคาสูงกว่าเมื่อเทียบกับ FreeSync


ข้อดีหลักของ AMD FreeSync เมื่อเทียบกับ NVIDIA G-Sync

-ไม่มีค่าธรรมเนียมการออกใบอนุญาต

-ไม่ต้องใช้ฮาร์ดแวร์เฉพาะของผู้ผลิต

-ไม่มีค่าใช้จ่ายในการดำเนินการสื่อสาร

-จอภาพ G-Sync มักถูกนำไปใช้คู่กับระบบเกมมิ่งพีซีที่มีราคาแพง

-มีตัวเลือกจอภาพหลากหลายกว่า


FreeSync สามารถใช้กับ NVIDIA ได้หรือไม่

เริ่มตั้งแต่ปี 2019 ที่ NVIDIA ออกแบบให้ GeForce GPU สามารถใช้งานร่วมกับ FreeSync ได้ หลังจากการเปิดตัวไดรเวอร์ GeForce driver 417.71 การ์ดจอ GeForce ก็รองรับการใช้งานความสามารถอะแดปทีฟซิงค์ของจอภาพ FreeSync7


FreeSync คุ้มค่าที่จะใช้งานหรือไม่

หากคุณมีการ์ดจอ AMD อยู่แล้ว คุณควรที่จะเลือกใช้จอภาพ FreeSync นอกจากนี้ หากคุณเล่นเกมที่เน้นกราฟิกระดับสูงซึ่งสร้างภาระงานหนักหน่วงให้กับ GPU เช่น เกมคุณภาพระดับ AAA ทุกเกม AMD FreeSync ก็จะคุ้มค่าน่าใช้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หากคุณมีการเล่นเกมในช่วง 48 ถึง 75 เฟรมต่อวินาที


การชดเชยอัตราเฟรมต่ำ (LFC)

เมื่อเร็วๆ นี้ AMD ได้พัฒนาคุณลักษณะที่มีชื่อว่าการชดเชยอัตราเฟรมต่ำ และเพิ่มลงในเทคโนโลยี FreeSync ของตน LFC ทำงานอย่างไรบ้าง

1. เสริมประสิทธิภาพให้กับจอภาพ FreeSync ในขณะที่ใช้งานอัตราการรีเฟรชขั้นต่ำ (เช่น 48 FPS)

2. จอภาพที่รองรับการใช้ LFC จะทำซ้ำเฟรม ในกรณีที่อัตราอยู่นอกช่วงการทำงานของ FreeSync5

จะส่งผลอย่างไรบ้างในการเล่นเกมจริง หาก GPU ทำงานที่ 30 FPS, LFC จะสามารถทำซ้ำเฟรมและรันการแสดงผลที่ 60 Hz เพื่อให้คุณเพลิดเพลินไปกับภาพที่ลื่นไหลได้6. มันคือคุณลักษณะอันยอดเยี่ยมสำหรับเหล่าเกมเมอร์ที่ต้องการสัมผัสประสบการณ์ที่ดีที่สุดจากเกมมิ่งพีซี


AMD FreeSync: ยกระดับการเล่นเกมของคุณให้ดีขึ้นแบบเฟรมต่อเฟรม

ปัญหาภาพซ้ำและภาพฉีก คือปัญหากวนใจอันดับต้นๆ ที่เกิดขึ้นเมื่อ GPU และอัตราการรีเฟรชของคุณทำงานแบบไม่ซิงค์กัน

เมื่อใช้เทคโนโลยี AMD FreeSync คุณจะสนุกไปกับการเล่นเกมได้อย่างเต็มที่ โดยไม่ประสบปัญหากวนใจเกี่ยวกับภาพ ซึ่งอาจทำให้คุณเสียสมาธิในระหว่างการทำภารกิจหลักของคุณ


เลือกชมกลุ่มผลิตภัณฑ์ จอภาพ FreeSyncของเรา


ข้อมูลอ้างอิง:

[1] Trusted Reviews; Monitor Refresh Rates: Why higher isn’t always better

[2] AMD; Radeon FreeSync Technology; Radeon FreeSync Technology

[3] AnandTech; What is the correct way to use FreeSync?

[4] Ancient Gameplays; FreeSync Explained

[5] AMD; Low Framerate Compensation

[6] PCWorld; G-Sync vs. FreeSync: Adaptive sync gaming

[7] PCWorld; FreeSync monitor support for GeForce graphics cards